ประวัติพระครูสุคนธ์คณารักษ์
เจ้าอาวาสและเจ้าสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด
วัดหนองริวหนัง ตำบลลำหนองแสน
อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์
พระครูสุคนธ์คณารักษ์
(พิมพ์ จิตฺตะมโม ชื่อสกุล พันสวัสดิ์)
๑. รูปเกิด ๒๒ มิถุนายน ๒๔๘๐
๒. บรรพชา ๒๔ เมษายน ๒๕๙๖
๓. อุปสมบท ๒๒ มีนาคม ๒๔๘๐
๔. อายุ (ปี ๒๕๕๕) ๗๕ ปี พรรษา ๕๕
๕. วัด วัดหนองริวหนัง
๖. จังหวัด กาฬสินธุ์
๗. สังกัด มหานิกาย
๘. วุฒิการศึกษา น.ธ. เอก, ป.ธ. ๓, ปริญญาโท ค.ม. M.Ed.
๙. ตำแหน่งปัจจุบัน เจ้าอาวาสวัดหนองริวหนัง ต.ลำหนองแสน อ.หนองกุงศรี จ.กาฬสินธุ์ และเจ้าสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ แห่งที่ ๑๓ และเป็นอาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิปัสสนาธุระเป็น พิเศษ
๑๐. พ.ศ. ๒๔๙๒ จบชั้นประถมปีที่ ๔
๑๑. พ.ศ. ๒๔๙๖ จบนักธรรมชั้นตรี
๑๒. พ.ศ. ๒๔๙๘ จบนักธรรมชั้นโท
๑๓. พ.ศ. ๒๔๙๘ สมัครปฏิบัติวิปัสสนาอยู่ ๓ เดือน
๑๔. พ.ศ. ๒๔๙๙ จบนักธรรมชั้นเอก
๑๕. พ.ศ. ๒๕๐๐ อุปสมบทเป็นภิกษุ ณ อ.หล่มสัก
๑๖. พ.ศ. ๒๕๐๒ จบเปรียญธรรม ๓ ประโยค
๑๗. พ.ศ. ๒๕๐๓ เป็นกรรมการตรวจประโยคธรรม
๑๘. พ.ศ. ๒๕๐๔ ศึกษาและปฏิบัติธรรมที่ สวนโมกข์
๑๙. พ.ศ. ๒๕๐๖ ผู้ช่วยอาวาสวัดหนองริวหนัง
๒๐. พ.ศ. ๒๕๑๓ เป็นเจ้าคณะอำเภอท่าคันโท
๒๑. พ.ศ. ๒๕๑๔ เป็นอุปัชฌาย์ เขตอำเภอท่าคันโท
๒๒. พ.ศ. ๒๕๑๖ จจ. ส่งไปปฏิบัติวิปัสสนาเพิ่มเติม
๒๓. พ.ศ. ๒๕๑๗ จจ. ให้วัดนี้เป็นสำนักวิปัสสนา
๒๔. พ.ศ. ๒๕๒๐ เป็นเจ้าอาวาสวัดหนองริวหนัง
๒๕. พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดกาฬสินธุ์แห่งที่ ๑๓ ใน๓๗ แห่ง ม.๑๖ ธ. ๒๑
๒๕. พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้รับปริญญาโท ครุศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขา หลักสูตรและการสอนจากมหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
สังเขปประวัติพระครูสุคนธ์คณารักษ์
พระครูสุคนธ์คณารักษ์ ฉายา จิตฺตธมโม นามเดิม พิมพ์ นามสกุล พันสวัสดิ์ ป.ธ. ๓, น.ธ. เอก, ปริญญาโท ครุสาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาหลักสูตรและการสอน จากมหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยใช้อักษรย่อว่า ค.ม., M. Ed., ดังนี้.
เกิดวันอังคารปีฉลู ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๘ ให้เขียนว่า วัน ๓ ฯ๑๔๘ ปีฉลู จะตรงกับวันที่ ๒๒ เดือน มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๐ ที่บ้านหนองริวหนัง หมู่ที่ ๑ ตำบลสหัสขันธ์ อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ปัจจุบัน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นบ้านหนองริวหนัง หมู่ที่ ๕ ตำบลลำหนองแสน อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์
มารดาบิดาประกอบชีพทำนา เกิดเป็นลูกคนที่ ๖ ในบรรดาลูกทั้งหมด ๖ คน คือ นางสาวทองใบ นางหวาน นางใส นางคำมี เด็กชายเคน และ พระครูสุคนธ์คณารักษ์ (พิมพ์ พันสวัสดิ์)
พ.ศ. ๒๔๙๒ เรียนจบชั้นประถมปีที่ ๔ จากโรงเรียนประชาบาลบ้านหนองริวหนัง ตำบลสหัสขันธ์ อำเภอสหัสขันธุ์
พ.ศ. ๒๔๙๖ จบนักธรรมชั้นตรี สังกัดวัดกอไตรปิฏการาม ตำบลเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ขึ้นต่อสำนักเรียนวัดใต้โพธิ์ค้ำ ตำบล อำเภอ และจังหวัดเดียวกัน
พ.ศ. ๒๔๙๘ จบนักธรรมชั้นโท อำเภอหล่มศักดิ์ สำนักเกรียนวัดไพรสณฑ์ศักดาราม ตำบลหล่มศักดิ์ อำเภอหล่มศักดิ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
พ.ศ. ๒๔๙๙ จบนักธรรมชั้นเอก สำนักเกรียนวัดไพรสณฑ์ศักดาราม ตำบลหล่มศักดิ์ อำเภอหล่มศักดิ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
พ.ศ. ๒๕๐๒ จบเปรียญธรรม ๓ ประโยค (ป.ธ. ๓) จากสำนักเรียนวัดเนินยาว ตำบลหัวดง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร (สำนักเรียนสาขาวัดไพรสณฑ์ศักดาราม)
ความรู้พิเศษ
มีความรู้ด้านอภิธรรม ปรมัตถธรรม ๔ (จิต เจตสิก รูป นิพพาน) ทั้งส่วนที่เป็นปริยัติและส่วนที่เป็นปฏิบัติ โดยได้รับการอบรมสั่งสอนมาจาก พระมหาวิจิตร ขนฺติธฺมโม สำนักวัดมหาธาตุยุวราษฎร์รังสกฤษ กรุงเทพมหานคร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๘ ขณะยังเป็นสามเณรอยู่
ความชำนาญการ
มีความชนาญเป็นพิเศษ คือ เทศนาธรรม ปาฐกถาธรรม บรรยายธรรม ปฏิบัติและสอนวิปัสสนากัมมัฎฐาน (สติปัฏฐาน ๔ โดยตรง) ทั้งภาคปริยัติและปฏิบัติ โดยสามารถแยกแยะอารมณ์ของผู้ปฏิบัติว่าเข้าสู่ทางสายกลางหรือไม่ เป็นต้น
ความสามารถพิเศษ
พระครูสุคนธ์คณารักษ์ เป็นผู้มีความรู้ด้านนวกรรมการก่อสร้าง ช่างไฟฟ้า การใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ระดับการใช้งานพิมพ์ โดยเฉพาะโปรแกรม pageMeker ท่านจะมีความชำนาญเป็นพิเศษ และมีความรู้ด้านภาษาอังกฤษพอนำไปใช้งานด้าน ไอที ได้ วิทยาศาสตร์ประยุกต์บางสาขา
การบรรพชาอุปสมบท
บรรพชา เมื่อวันที่ ๒๔ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๙๖ อายุ ๑๖ ปี บรรพชา ณ วัดหอไตรปิฏการาม ตำบลเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์โดยมี พระครูกาฬสินธุ์วุฒิคุณ (คำผง ปณฺฑิโต) วัดหอไตรปิฏการาม เป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ. ๒๕๐๐ อุปสมบท พ.ศ. ๒๕๐๐ อุปสมบท ณ วัดไพรสณฑ์ศักดาราม อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ พระครูวาทีวิสุทธิ์ วัดทุ่งจันทร์สมุทร อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูปริยัติธาดา (ต่อมาดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดจังหวัดเพชรบูรณ์ มีราชทินนามว่า พระราชพัชราภรณ์) วัดไพรสณฑ์ศักดาราม อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์, พระมหาจันทร์ วิจาโร (ต่อมาลาสิขาบทไป) วัดไพรสณฑ์ศักดาราม อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์.
พ.ศ.๒๕๓๐ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง กรรมการตรวจประโยคธรรมสนามหลวง ตั้งเมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๐๓ ในนาม พระมหาพิมพ์ ป.ธ. ๓ น.ธ. เอก ได้ลงนามแต่งตั้งโดย พระธรรมโกศาจารย์ แม่กองธรรมสนามหลวงหลวง และ สมเด็จพระวันรัต สังฆมนตรีว่าการองค์การศึกษา
พ.ศ. ๒๕๑๓ – ๒๕๒๐ ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ ใบตราตั้ง ที่ ๓/๒๕๑๓ ลงวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๑๓ ลงนามแต่งตั้งโดย พระพรหมคุณาภรณ์ เจ้าคณะภาค ๙ (ปัจจุบัน คือ สมเด็จพุฒาจารย์ วัดสระเกศ…)
พ.ศ. ๒๕๑๔ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ หนังสือแต่งตั้ง ที่ ๒๒/๒๕๑๔ ลงวันที่ ๗ เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๔ ได้ลงนามแต่งตั้งโดย พระธรรมวโรดม จำแหน่งเจ้าคณะหนตะวันออก
พ.ศ. ๒๕๒๐ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหนองริวหนัง ตำบลลำหนองแสน อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ รูปที่ ๑๒ นับจาก พ.ศ. ๒๔๔๗ เป็นต้นมา ซึ่งเป็นปีที่ตั้งวัดหนองริวหนังปีแรก ใบตราตั้ง ที่ ๒๙/๒๕๒๐ ลงวันที่ ๘ เดือนมิถุนายน ๒๕๒๐ ลงนามแต่งตั้งโดย พระราชพรหมจริยคุณ (สุข สุขโณ) ซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์สมัยนั้น และท่านสังกัดอยู่ที่วัดกลาง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
พ.ศ. ๒๔๙๘ ขณะที่ยังเป็นสามเณรอยู่นั้น มีอายุได้ ๑๘ ปีบริบูรณ์ ได้มีจิตศรัทธาสมัครเข้าปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ณ. วัดถ้ำสมบัติ (ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นวัดถ้ำพระ) ตำบลบุ่งน้ำเต้า อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยได้ปฏิบัติต่อเนื่องกันถึง ๓ เดือน คือ ตั้งแต่เดือน ๓ ถึงเดือน ๕ โดยมีท่านเจ้าอาวาสวัดไพรสณฑ์ศักดาราม คือ พระครูปริยัติธาดา ตำแหน่งศึกษาอำเภอหล่มสักสมัยนั้น ท่านได้ไปนิมนต์พระวิปัสสนาจารย์จากวัดมหาธาตุฯ กรุงเทพมหานคร พระมหาวิจิตร ขนฺติธฺมโม คณะสลัก ๔ มาแนะนำสั่งสอนการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน และสอนปรมัตถธรรม ๔ ได้แก่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ควบคู่กันไปด้วยตลอด ๓ เดือน
พ.ศ. ๒๕๐๔ ศึกษาและปฏิบัติธรรม ณ สวนโมกขพลาราม อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี อาจารย์พุทธทาสภิกขุ เป็นผู้ดำเนินการอบรมสั่งสอนธรรมะปฏิบัติ ดำรงชีวิตด้วยความสันโดษ สนฺตุฏฐี ปรมํธนํ. ความสันโดษเป็นทรัพย์อย่างยิ่งคือ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ จาคะ และปัญญา
พ.ศ. ๒๕๑๖ ระหว่างดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอท่าคันโทอยู่นั้น มีพระเดชพระคุณหลวงพ่อเจ้าคุณ พระสุขุมวาทเวที (สุข สุขโณ) แห่งวัดกลาง เจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ได้แนะนำและส่งไปปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน วัดม่วง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ทำการอบรมสั่งสอนภาคปฏิบัติ โดยคุณโยมแม่ชีแดง พจนสิทธิ์ และสอนปฏิบัติตามแนวทาง วัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร ได้ทำการปฏิบัติในสำนักนี้ถึง ๓ ครั้งๆ ละ ๑เดือน ซาบซึ้งในรสพระธรรมมาก
พ.ศ. ๒๕๑๗ เปิดอบรมสั่งสอนแนวทางปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานขึ้น ณ วัดหนองริวหนัง ตำบลลำหนองแสน อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นสำนักปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานประจำจังหวัดกาฬสินธุ์แห่งแรก โดยพระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระสุขุมเวที เจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ผู้เป็นประธานสงฆ์ทำพิธีเปิด เมื่อวันที่ ๑๗ เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๗ และทำการอบรมปฏิบัติจนกระทั่งทุกวันนี้
พ.ศ. ๒๕๕๐ มหาเถรสมาคมประกาศตั้งวัดหนองริวหนังให้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด จังหวัดกาฬสินธุ์แห่งที่ ๑๓ ดังสำเนาที่ได้ประกาศตั้งเมื่อ ๒๗ เดือนกุมภาพันธุ์ พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๑๘ ได้รับอาราธนาให้เป็นอาจารย์สอนพิเศษวิชาความจริงของชีวิต คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ที่ ศธ. ๐๕๔๖./๐๑๒๒ ลงวันที่ ๑พฤศจิกายน ๒๕๔๘ ซึ่งออกตามคำสั่งอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อัจฉรา ภาณุรัตน์ สมัยนั้น และด้ำการสอนเรื่อยมาจนถึง พ.ศ. ๒๕๕๒ ทางสภามหาวิทยาลัยจึงได้ถวายปริญญาบัตรครุศาสตรมหาบัณฑิตกิตติทศักดิ์สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน เนื่องจากว่าระหว่างทำการสอนอยู่นั้นได้ผลิตหลักสูตรการเรียน “วิชาความจริงขิงชีวิต” ขึ้นมาใหม่ให้สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาและทันสมัยต่อเหตุการณ์บ้านเมือง ตลอดถึงสังคมปัจจุบันด้วย ฯลฯ
(พระครูสุคนธ์คณารักษ์)
ผู้ทำประวัติโดยสังเขป
๒๐ มกราคม ๒๕๕๕
ของรักษาอันเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์แท้จริง
(สุตตันตฺ เล่ม ๑๙ ขุ.ชา ภาค ๑ ข้อ ๑๔๒๐ )
“ธัมโม หะเว รักขะติ ธัมมจาริง”
แปล ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรรม.
๑. ผู้ประพฤติกุศลธรรมหรือสุจริตธรรม ซึ่งเป็นธรรมฝ่ายดี ๑๐ อย่าง มีการไม่ฆ่าสัตว์เลี้ยงชีวิต เป็นต้น และเป็นคนมีสัมมาทิฏฐิ หรือมีความเห็นชอบเป็นข้อ ๑๐ ประจำชีวิตแล้ว ธรรมอันดีส่วนย่อมรักษาชีวิตไม่ให้ประสบกับภัยพิบัติใดๆ ใน ๑๐ ภัยพิบัติ มีราชภัย โจรภัย เป็นต้น
๒. ผู้ประพฤติอกุศลธรรมหรือทุจริตธรรม ซึ่งเป็นธรรมฝ่ายชั่ว ๑๐ อย่าง มีการฆ่าสัตว์เลี้ยงชีวิต เป็นต้น และเป็นบุคคลมิจฉาทิฏฐิ หรือเป็นคนมีความรับผิดเป็นชอบเป็นข้อ ๑๐ สุดท้าย ธรรมอันชั่วส่วนนี้ย่อมนำชีวิตให้ไปประสบภัยพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๑๐ ภัย มีราชภัย โจรภัย เป็นต้น
๓. ผู้ประพฤติอัพยากตธรรมหรือวิปัสสนา ฯ ที่เป็นสายกลางจริงๆ มีสติตามเห็นกายอยู่เป็นประจำ เป็นต้น ชีวิตย่อมประสบโลกุตตรธรรม ๙ มีมรรคสี่ผลสี่นิพพานหนึ่ง.