พุทธศาสนาภาคปฏิบัติจริง

 

(คู่มือมนุษย์)

 สุตตันตปิฎกภาษาไทย เล่ม ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ข้อ ๓๕๙ และข้อ ๓๖๐ มีชื่อว่า “อกุศลกรรมบถ ๑๐ อย่าง” และว่า “กุศลกรรมบถ ๑๐ อย่าง” และมีอยู่ในอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์ ชื่อว่า “มาติกา” ติกมาติกา ๒๒ ติกะ ส่วนที่เป็น “กุศลติกะ” มีว่า :-

๑. กุสลา ธัมมา.  ธรรมเป็นกุศล (เหมือนกันกับกุศลกรรมบถ ๑๐ อย่าง)

๒. อกุสลา ธัมมา. ธรรมเป็นอกุศล (เหมือนกันกับอกุศลกรรมบถ ๑๐ อย่าง)

๓. อัพยากตา ธัมมา. ธรรมเป็นอัพยากฤต (อัพยากฤต คือ ธรรมที่ทำให้แจ่มแจ้งไม่ได้ หรือธรรมไม่ดีและไม่ชั่ว) ที่กล่าวมานี้ คือ หลักฐานที่ได้มาตั้งชื่อว่า “หลักพุทธศาสนาภาคปฏิบัติจริง” ที่ว่าภาคปฏิบัติจริงนั้น เพราะเหตุผลว่า ทุกๆคนที่เกิดมาในโลกใบนี้ โดยไม่จำกัดเชื้อชาติและศาสนาแต่อย่างใด ล้วนดำรงชีวิตอยู่ด้วย

การปฏิบัติธรรมซึ่งเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า (พุทธศาสนา) อยู่แล้วทุกคน แต่ส่วนมากที่ยังไม่ได้อบรมมาจากสัตบุรุษ (มีแต่อบรมธรรมจากอสัตบุรุษ) ย่อมปฏิบัติตามฝ่ายอกุศลธรรมเป็นอกุศลกรรม โดยความไม่รู้หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แต่ถ้าได้อบรมธรรมจากสัตบุรุษมาแล้วอย่างช่ำชอง จึงจะเปลี่ยนการดำรงชีวิตจากอกุศลธรรมหรืออกุศลกรรมเป็นกุศลธรรมหรือกุศลกรรมได้

สรุปว่า ทุกคนที่เกิดมาทั้งโลกมีการปฏิบัติธรรมกันอยู่แล้วทุกคน (การเคลื่อนไหวชีวิตประจำวันนั่นเองเป็นการปฏิบัติธรรม) แต่จะปฏิบัติอกุศลธรรมเป็นส่วนมาก เพราะความไม่รู้ไม่เข้าใจกุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม แต่ถ้ารู้และเข้าใจธรรม ๓ หมวดนี้แล้ว ย่อมไม่ปฏิบัติตามอกุศลธรรมหรืออกุศลกรรมแน่นอน เพราะนำโทษภัยมาให้ชีวิตมากมายในวันข้างหน้า (โปรดอ่านพิจารณาต่อไป)

 

พุทธศาสนาภาคปฏิบัติจริง (คู่มือมนุษย์) =

พุทธศาสนา แปลว่า คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ส่วนที่เป็นบทแม่แห่งธรรม (บทมาติกา) มี ๓ ระบบ คือ :-

๑. กุสลา ธัมมา. กุศลธรรมหรือความดี ๑๐ อย่าง

๒. อกุสลา ธัมมา. อกุศลธรรมหรือความชั่ว ๑๐ อย่าง

๓. อัพยากตา ธัมมา. ธรรมเป็นอัพยากฤต หรือธรรมไม่ดีและไม่ชั่ว ๔ อย่าง

 

= กุศลธรรมหรือความดี ๑๐ อย่าง คือ =

๑. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.

แปลว่า ข้าพเจ้า ! ย่อมถือไว้ปฏิบัติให้ดี ซึ่งบทธรรมที่ควรศึกษาให้รู้และเข้าใจ คือ เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการ ยังสิ่งมีชีวิต และสิ่งมีลมปราณให้ตกล่วง คือ ไม่ฆ่าสัตว์มีชีวิตและสิ่งมีลมปราณ ถ้าเว้นจากการทำปาณาติบาตได้ก็เป็นกุศลกรรมหรือเป็นความดีอย่างหนึ่ง ของคนผู้เป็นมนุษย์ จิตวิญญาณย่อมถึง “สุคติ” คือ เป็นมนุษย์บ้าง เทวดาบ้าง เป็นพระพรหมบ้าง

๒. อทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.

แปลว่า ข้าพเจ้า ! ย่อมถือไว้ปฏิบัติให้ดี ซึ่งบทธรรมที่ควรศึกษาให้รู้และเข้าใจ คือ เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการถือเอาสิ่งของ ที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้แล้ว คือ ไม่ถือเอาทรัพย์สินของผู้อื่นมาเป็นของตน ด้วยการประพฤติทุจริต ถ้าเว้นจากอทินนาทานได้ก็เป็นกุศลกรรมหรือเป็นความดีอย่างหนึ่ง ของคนผู้เป็นมนุษย์ จิตวิญญาณย่อมถึง “สุคติ” คือ เป็นมนุษย์บ้าง เทวดาบ้าง เป็นพระพรหมบ้าง

๓. กาเมสุ มิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.

แปลว่า ข้าพเจ้า ! ย่อมถือไว้ปฏิบัติให้ดี ซึ่งบทธรรมที่ควรศึกษาให้รู้และเข้าใจ คือ เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย คือ ไม่ทำผิดกับเพศตรงกันข้าม และไม่ทำผิดกับสิ่งที่มีผู้หวงแหนหรือหวงห้าม ถ้าเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารได้ ก็เป็นกุศลกรรมหรือเป็นความดีอย่างหนึ่ง ของคนผู้เป็นมนุษย์ จิตวิญญาณย่อมถึง “สุคติ” คือ เป็นมนุษย์บ้าง เทวดาบ้าง เป็นพระพรหมบ้าง

๓.๑. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.

แปลว่า ข้าพเจ้า ! ย่อมถือไว้ปฏิบัติให้ดี ซึ่งบทธรรมที่ควรศึกษาให้รู้และเข้าใจ คือ เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการดื่มสุราเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท คือ ไม่ดื่มเหล้า ไม่ดื่มเบียร์ ไม่เสพสิ่งเสพติดให้โทษอื่น ๆ มียาม้า ยาอี ยาไอซ์ เป็นต้น ถ้าเว้นจากการดื่มสุราเมรัยได้ ก็เป็นกุศลกรรมหรือเป็นความดีอย่างหนึ่ง ของคนผู้เป็นมนุษย์ จิตวิญญาณย่อมถึง “สุคติ” คือ เป็นมนุษย์บ้าง เทวดาบ้าง เป็นพระพรหมบ้าง

๔. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.

แปลว่า ข้าพเจ้า ! ย่อมถือไว้ปฏิบัติให้ดี ซึ่งบทธรรมที่ควรศึกษาให้รู้และเข้าใจ คือ เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดเท็จ คือ ถ้าเห็นอยู่ก็พูดว่าเห็น ไม่พูดเท็จว่าไม่เห็น ถ้าไม่เห็นก็พูดว่าไม่เห็น ไม่พูดเท็จว่าเห็น ถ้ารู้อยู่ก็พูดว่ารู้ ไม่พูดเท็จว่าไม่รู้ ถ้าไม่รู้ก็พูดว่าไม่รู้ ไม่พูดเท็จว่ารู้ เป็นต้น ถ้าเว้นจากการพูดเท็จได้ ก็เป็นกุศลกรรมหรือเป็นความดีอย่างหนึ่ง ของคนผู้เป็นมนุษย์ จิตวิญญาณย่อมถึง “สุคติ” คือ เป็นมนุษย์บ้าง เทวดาบ้าง เป็นพระพรหมบ้าง

๕. ปิสุณายะ วาจายะ  เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.

แปลว่า ข้าพเจ้า ! ย่อมถือไว้ปฏิบัติให้ดี ซึ่งบทธรรมที่ควรศึกษาให้รู้และเข้าใจ คือ เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดส่อเสียด คือ ไม่พูดยุยงส่งเสริมหรือไม่พูดสนับสนุนให้คนทะเลาะวิวาทแล้วแตกความสามัคคีกัน มีแต่พูดประสานประโยชน์ให้เกิดความสามัคคีเท่านั้น ถ้าเว้นจากการพูดส่อเสียดได้ ก็เป็นกุศลกรรมหรือเป็นความดีอย่างหนึ่ง ของคนผู้เป็นมนุษย์ จิตวิญญาณย่อมถึง “สุคติ” คือ เป็นมนุษย์บ้าง เทวดาบ้าง เป็นพระพรหมบ้าง

๖. ผรุสายะ วาจายะ เวระมะณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ.

แปลว่า ข้าพเจ้า ! ย่อมถือไว้ปฏิบัติให้ดี ซึ่งบทธรรมที่ควรศึกษาให้รู้และเข้าใจ คือ เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดคำหยาบ คือ ไม่พูดคำด่า ไม่พูดคำนินทา ไม่พูดกระทบจิตใจในทางร้าย เป็นต้น ถ้าเว้นจากการพูดคำหยาบได้ ก็เป็นกุศลกรรมหรือเป็นความดีอย่างหนึ่ง ของคนผู้เป็นมนุษย์ จิตวิญญาณย่อมถึง “สุคติ” คือ เป็นมนุษย์บ้าง เทวดาบ้าง เป็นพระพรหมบ้าง

๗. สัมผัปปะลาปา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.

แปลว่า ข้าพเจ้า ! ย่อมถือไว้ปฏิบัติให้ดี ซึ่งบทธรรมที่ควรศึกษาให้รู้และเข้าใจ คือ เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ  คือ (๑) พูดถูกกาล (๒) พูดความจริง (๓) พูดอิงอรรถะ (๔) พูดอิงธรรมะ (๕) พูดอิงวินัย (๖) พูดมีหลักฐาน มีที่อ้างหรือมีที่มา มีที่กำหนดหรือมีขอบเขต เป็นคำพูดที่ประกอบด้วยประโยชน์ และพูดเหมาะสมกับกาล ถ้าเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อได้ ก็เป็นกุศลกรรมหรือเป็นความดีอย่างหนึ่ง ของคนผู้เป็นมนุษย์ จิตวิญญาณย่อมถึง “สุคติ” คือ เป็นมนุษย์บ้าง เทวดาบ้าง เป็นพระพรหมบ้าง

๘. อะนะภิชฌา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.

แปลว่า ข้าพเจ้า ! ย่อมถือไว้ปฏิบัติให้ดี ซึ่งบทธรรมที่ควรศึกษาให้รู้และเข้าใจ คือ เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการคิดเพ่งเล็งคนและคิดเพ่งเล็งสัตว์ในแง่ร้าย คือ ไม่คิดเพ่งเล็งคนและสัตว์เพราะความโลภ เพราะความโกรธ เพราะความหลง เป็นต้น ถ้าเว้นจากการคิดเพ่งเล็งคนและสัตว์ในแง่ร้ายได้ ก็เป็นกุศลกรรมหรือเป็นความดีอย่างหนึ่ง ของคนผู้เป็นมนุษย์ จิตวิญญาณย่อมถึง “สุคติ” คือ เป็นมนุษย์บ้าง เทวดาบ้าง เป็นพระพรหมบ้าง

๙. อัพยาปาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.

แปลว่า ข้าพเจ้า ! ย่อมถือไว้ปฏิบัติให้ดี ซึ่งบทธรรมที่ควรศึกษาให้รู้และเข้าใจ คือ เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการคิดปองร้ายคนและคิดปองร้ายสัตว์ให้พินาศฉิบหาย คือ ไม่คิดจะไปฆ่าให้ตาย ไม่คิดจะไปทำให้พิการ ไม่คิดจะไปทำให้ทรมาน เป็นต้น ถ้าเว้นจากการคิดปองร้ายคนและสัตว์ได้ ก็เป็นกุศลกรรมหรือเป็นความดีอย่างหนึ่ง ของคนผู้เป็นมนุษย์ จิตวิญญาณย่อมถึง “สุคติ” คือ เป็นมนุษย์บ้าง เทวดาบ้าง เป็นพระพรหมบ้าง

๑๐. สัมมาทิฏฐยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.

แปลว่า ข้าพเจ้า ! ย่อมถือไว้ปฏิบัติให้ดี ซึ่งบทธรรมที่ควรศึกษาให้รู้และเข้าใจ คือ เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากความคิดเห็นผิดให้มีแต่ความเห็นชอบ คือ เห็นชอบในสิ่งที่เป็นบุญว่าเป็นบุญ เห็นชอบในสิ่งที่เป็นบาปว่าเป็นบาป เห็นชอบในสิ่งที่เป็นความดีว่าเป็นความดี เห็นชอบในสิ่งที่เป็นความชั่วว่าเป็นความชั่ว เป็นต้น ถ้าเว้นจาก ความคิดเห็นผิดแล้วมีความเห็นชอบได้ ก็เป็นกุศลกรรมหรือเป็นความดีอย่างหนึ่ง ของคนผู้เป็นมนุษย์ จิตวิญญาณย่อมถึง “สุคติ” คือ เป็นมนุษย์บ้าง เทวดาบ้าง เป็นพระพรหมบ้าง

ธรรม ๑๐ อย่างนี้ เป็นคุณธรรมจริยธรรมของคนผู้เป็นมนุษย์ เป็นเทวดา และเป็นพระพรหม

 

= อกุศลธรรมหรือความชั่ว ๑๐ อย่าง =

อันคนผู้เป็นมนุษย์ เทวดา พระพรหม ไม่ควรนำมาปฏิบัติในชีวิต คือ :-

๑. ปาณาติบาต

แปลว่า มีเจตนาฆ่าสิ่งมีชีวิตและสิ่งมีลมปราณ คือ ฆ่าให้ตายบ้าง ทำให้พิการบ้าง ทำให้ทรมานบ้าง เป็นต้น ถ้าเว้นจากการฆ่าสัตว์มีชีวิตและสิ่งมีลมปราณไม่ได้ ก็เป็นอกุศลกรรมหรือเป็นความชั่วอย่างหนึ่ง ของคนผู้เป็นมนุษย์ จิตวิญญาณย่อมถึง “ทุคติ” คือ เป็นสัตว์นรกบ้าง เปรตบ้าง เดียรัจฉานบ้าง อสุรกายบ้าง อมนุษย์บ้าง เป็นมารบ้าง๒. อทินนาทาน

แปลว่า มีเจตนาถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้แล้ว คือ ถือเอาสิ่งของของผู้อื่นมาเป็นของตน ด้วยการประพฤติทุจริต ๓ ลักษณะ คือ เป็นโจรกรรม ๑๔ อย่าง อนุโลมโจรกรรม ๓ อย่าง ฉายาโจรกรรม ๒ อย่าง ถ้าเว้นจากการทำอทินนาทานไม่ได้ ก็เป็นอกุศลกรรมหรือเป็นความชั่วอย่างหนึ่ง ของคนผู้เป็นมนุษย์ จิตวิญญาณย่อมถึง “ทุคติ” คือ เป็นสัตว์นรกบ้าง เปรตบ้าง เดียรัจฉานบ้าง อสุรกายบ้าง อมนุษย์บ้าง เป็นมารบ้าง

๓. กาเมสุมิจฉาจาร

แปลว่า มีเจตนาประพฤติผิดในกามทั้งหลาย คือ ประพฤติผิดในเพศหญิงหรือเพศชายที่มีผู้อื่นหวงแหนหรือหวงห้ามอยู่บ้าง ประพฤติผิดในสิ่งของหรือในสถานที่ที่มีผู้อื่นหวงแหนหรือหวงห้ามอยู่บ้าง เป็นต้น ถ้าเว้นจากการทำกาเมสุมิจฉาจารไม่ได้ ก็เป็นอกุศลกรรมหรือเป็นความชั่วอย่างหนึ่ง ของคนผู้เป็นมนุษย์ จิตวิญญาณย่อมถึง “ทุคติ” คือ เป็นสัตว์นรกบ้าง เปรตบ้าง เดียรัจฉานบ้าง อสุรกายบ้าง อมนุษย์บ้าง เป็นมารบ้าง

๓.๑ สุราเมรัย

แปลว่า มีเจตนาดื่มสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท คือ ดื่มเหล้าบ้าง ดื่มเบียร์บ้าง สูบกัญชาบ้าง สูบบุหรี่กินหมากบ้าง เสพสิ่งเสพติดให้ทาอื่นๆ มียาม้า ยาอี ยาไอซ์ เป็นต้นบ้าง ถ้าเว้นจากการดื่มสุราเมรัยไม่ได้ ก็เป็นอกุศลกรรมหรือเป็นความชั่วอย่างหนึ่ง ของคนผู้เป็นมนุษย์ จิตวิญญาณย่อมถึง “ทุคติ” คือ เป็นสัตว์นรกบ้าง เปรตบ้าง เดียรัจฉานบ้าง อสุรกายบ้าง อมนุษย์บ้าง เป็นมารบ้าง

๔. มุสาวาทา

แปลว่า มีเจตนาพูดเท็จ คือ พูดในสิ่งที่ไม่เป็นความจริงว่าเป็นความจริง เช่น ถ้าเห็นอยู่ก็พูดว่าไม่เห็น ไม่เห็นก็พูดว่าเห็น รู้อยู่ก็พูดว่าไม่รู้ ไม่รู้ก็พูดว่ารู้ เป็นต้น ถ้าเว้นจากการพูดเท็จไม่ได้ ก็เป็นอกุศลกรรมหรือเป็นความชั่วอย่างหนึ่ง ของคนผู้เป็นมนุษย์ จิตวิญญาณย่อมถึง “ทุคติ” คือ เป็นสัตว์นรกบ้าง เปรตบ้าง เดียรัจฉานบ้าง อสุรกายบ้าง อมนุษย์บ้าง เป็นมารบ้าง

๕. ปิสุณาวาจา

แปลว่า มีเจตนาพูดส่อเสียด คือ พูดยุยงส่งเสริมหรือพูดสนับสนุนให้คนทะเลาะวิวาทให้แตกความสามัคคีกัน เช่น ฟังคำพูดของคนข้างนี้แล้ว นำไปบอกคนข้างโน้น เพื่อจะทำลายข้างนี้ หรือฟังคำพูดของคนข้างโน้นแล้ว นำมาบอกคนข้างนี้ เพื่อจะทำลายข้างโน้น เป็นต้น ถ้าเว้นจากการพูดส่อเสียดไม่ได้ ก็เป็นอกุศลกรรมหรือเป็นความชั่วอย่างหนึ่ง ของคนผู้เป็นมนุษย์ จิตวิญญาณย่อมถึง “ทุคติ” คือ เป็นสัตว์นรกบ้าง เปรตบ้าง เดียรัจฉานบ้าง อสุรกายบ้าง อมนุษย์บ้าง เป็นมารบ้าง

๖. ผรุสวาจา

แปลว่า มีเจตนาพูดคำหยาบ คือ พูดคำที่ไม่น่ารักไม่น่าพอใจแก่คนอื่น เช่น พูดเป็นคำด่าบ้าง เป็นคำสาปแช่งบ้าง เป็นคำเยาะเย้ยเหยียดหยามบ้าง เป็นคำหมิ่นประมาทบ้าง เป็นต้น ถ้าเว้นจากการพูดคำหยาบไม่ได้ ก็เป็นอกุศลกรรมหรือเป็นความชั่วอย่างหนึ่ง ของคนผู้เป็นมนุษย์ จิตวิญญาณย่อมถึง “ทุคติ” คือ เป็นสัตว์นรกบ้าง เปรตบ้าง เดียรัจฉานบ้าง อสุรกายบ้าง อมนุษย์บ้าง เป็นมารบ้าง

๗. สัมผัปปะลาปา

แปลว่า มีเจตนาพูดเพ้อเจ้อ คือ (๑) พูดไม่ถูกกาล (๒) พูดไม่จริง (๓) พูดไม่อิงอรรถะ (๔) พูดไม่อิงธรรมะ (๕) พูดไม่อิงวินัย (๖) พูดไม่มีหลักฐาน ไม่มีที่อ้างหรือไม่มีที่มา ไม่มีที่กำหนดหรือไม่มีขอบเขต เป็นคำพูดที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และพูดไม่เหมาะสมกับกาล ถ้าเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อไม่ได้ ก็เป็นอกุศลกรรมหรือเป็นความชั่วอย่างหนึ่ง ของคนผู้เป็นมนุษย์ จิตวิญญาณย่อมถึง “ทุคติ” คือ เป็นสัตว์นรกบ้าง เปรตบ้าง เดียรัจฉานบ้าง อสุรกายบ้าง อมนุษย์บ้าง เป็นมารบ้าง

๘. อภิชฌา

แปลว่า มีเจตนาคิดเพ่งเล็งคนและสัตว์ในแง่ร้าย คือ คิดเพ่งเล็งเพราะความโลภอยากได้บ้าง คิดเพ่งเล็งเพราะความโกรธไม่อยากได้บ้าง คิดเพ่งเล็งเพราะความหลงจึงอยากได้และไม่อยากได้บ้าง เป็นต้น ถ้าเว้นจากการคิดเพ่งเล็งคนและสัตว์ในแง่ร้ายไม่ได้ ก็เป็นอกุศลกรรมหรือเป็นความชั่วอย่างหนึ่ง ของคนผู้เป็นมนุษย์ จิตวิญญาณย่อมถึง “ทุคติ” คือ เป็นสัตว์นรกบ้าง เปรตบ้าง เดียรัจฉานบ้าง อสุรกายบ้าง อมนุษย์บ้าง เป็นมารบ้าง

๙. พยาบาท

แปลว่า มีเจตนาคิดปองร้ายคนและสัตว์ให้พินาศฉิบหายไป คือ คิดปองร้ายด้วยการฆ่าให้ตายบ้าง ด้วยการลักสิ่งของบ้าง ด้วยการทำให้พลัดพรากจากกันบ้าง ด้วยการหลอกล่อให้หลงผิด คิดว่าจะเป็นประโยชน์แก่ตนบ้าง เป็นต้น ถ้าเว้นจากการคิดปองร้ายคนและสัตว์ไม่ได้ ก็เป็นอกุศลกรรมหรือเป็นความชั่วอย่างหนึ่ง ของคนผู้เป็นมนุษย์ จิตวิญญาณย่อมถึง “ทุคติ” คือ เป็นสัตว์นรกบ้าง เปรตบ้าง เดียรัจฉานบ้าง อสุรกายบ้าง อมนุษย์บ้าง เป็นมารบ้าง

๑๐. มิจฉาทิฏฐิ

แปลว่า มีความคิดเห็นผิดจากความเป็นจริง คือ เห็นผิดในสิ่งที่เป็นบุญว่าเป็นบาป เห็นผิดในสิ่งที่เป็นบาปว่าเป็นบุญ เห็นผิดในสิ่งที่เป็นความดีว่าเป็นความชั่ว เห็นผิดในสิ่งที่เป็นความชั่วว่าเป็นความดี เป็นต้น ถ้าเว้นจากความคิดเห็นผิดทำให้เป็นความเห็นชอบไม่ได้ ก็เป็นอกุศลกรรมหรือเป็นความชั่วอย่างหนึ่ง ของคนผู้เป็นมนุษย์ จิตวิญญาณย่อมถึง “ทุคติ” คือ เป็นสัตว์นรกบ้าง เปรตบ้าง เดียรัจฉานบ้าง อสุรกายบ้าง อมนุษย์บ้าง เป็นมารบ้าง

ธรรม ๑๐ อย่างนี้ เป็นคุณธรรมจริยธรรมของคนผู้มีจิตวิญญาณเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นเดียรัจฉาน เป็นอสุรกาย เป็นอมนุษย์ เป็นคนมาร

 

= อัพยากตธรรม =

อัพยากตธรรม แปลว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ธรรมที่ทำให้แจ่มแจ้งไม่ได้ หรือธรรมไม่ดีและไม่ชั่ว หรือธรรมที่ไม่ใช่กุศลและไม่ใช่อกุศล มีอยู่ ๔ อย่าง คือ :-

๑. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

แปลว่า เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ในที่เป็นที่ตั้งที่เกิดแห่งสติ ด้วยการตามเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ โดยอาการแห่งการเห็นกายนั้น มีอยู่ ๖ ลักษณะ ๕๙ อย่าง

๒. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

แปลว่า เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ในที่เป็นที่ตั้งที่เกิดแห่งสติ ด้วยการตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ โดยอาการแห่งการเห็นเวทนานั้น มีอยู่ ๙ อย่าง

๓. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

แปลว่า เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ในที่เป็นที่ตั้งที่เกิดแห่งสติ ด้วยการตามเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ โดยอาการแห่งการเห็นจิตนั้น มีอยู่ ๑๖ อย่าง

๔. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

แปลว่า เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ในที่เป็นที่ตั้งที่เกิดแห่งสติ ด้วยการตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ โดยอาการแห่งการเห็นธรรมนั้น มีอยู่ ๕ ลักษณะ ๒๗ อย่าง

ธรรม ๔ อย่างนี้ เป็นคุณธรรมจริยธรรมของพระอริยบุคคลทั้งหลาย มีพระโสดาบันบ้าง พระสกทาคามีบ้าง พระอนาคามีบ้าง พระอรหันต์บ้าง

 

= วิบากหรือผลของกรรม =

๑. กุศลวิบากหรือผลของกรรมดี

๒. อกุศลวิบากหรือผลของชั่ว

๓. อัพยากตวิบากหรือผลของกรรมไม่ดีและไม่ชั่ว

๔. อนันตริยกรรม ซึ่งเป็นกรรมชั่วที่สุดพร้อมด้วยวิบาก

 

= ๑. กุศลวิบากหรือผลของกรรมดี ๒ ลักษณะ =

เป็นสิ่งที่มนุษย์ ผู้ทำกุศลกรรมที่ดีพึงได้รับในชาติปัจจุบัน คือ

๑. กุศลวิบากหรือผลกรรมดีที่ลึกลับ ๓ อย่าง

๑. จิตวิญญาณเป็นมนุษย์. ผู้มีจิตใจสูงส่ง ๔ จำพวก

๒. จิตวิญญาณเป็นเทพ. ผู้มีหูทิพย์ ตาทิพย์ ๖ จำพวก

๓. จิตวิญญาณเป็นพระพรหม. ผุ้มีจิตใจประเสริฐ ๒๐ จำพวก

 

๒. กุศลวิบากหรือผลกรรมดีที่เปิดเผย ๗ อย่าง

๑. อายุวัฑฒโก. อายุเจริญ

๒. ธนวัฑฒโก. ทรัพย์เจริญ

๓. สิริวัฑฒโก. ศิริเจริญ

๔. ยสวัฑฒโก. ยศเจริญ

๕. พลวัฑฒโก. กำลังเจริญ

๖. วัณณวัฑฒโก. ผิวพรรณหรือเพศเจริญ

๗. สุขวัฑฒโก. ความสุขทางกายและใจเจริญ

 

= ๒. อกุศลวิบากหรือผลของกรรมชั่ว ๒ ลักษณะ =

 ๑. อกุศลวิบากหรือผลกรรมชั่วที่ลึกลับ ๖ อย่าง

๑. จิตวิญญาณเป็นสัตว์นรก ในนรก ๔๕๗ ขุม

๒. จิตวิญญาณเป็นเปรต มีเปรตอยู่มากมายหลายจำพวก

๓. จิตวิญญาณเป็นเดียรัจฉาน ในเดียรัจฉาน ๔ จำพวก

๔. จิตวิญญาณเป็นอสุรกาย มีอสุรกายอยู่จำพวกเดียว

๕. จิตวิญญาณเป็นอมนุษย์ ในอมนุษย์ ๑๒ จำพวก

๖. จิตวิญญาณเป็นมาร ในมาร ๕ จำพวก

 

๒. อกุศลวิบากหรือผลกรรมชั่วที่เปิดเผย ๑๐ อย่าง

๑. ราชภัย ประสบภัยจากทางราชการ

๒. โจรภัย ประสบภัยจากโจรใจบาป

๓. อัคคีภัย ประสบภัยจากไฟต่างๆ มีไฟฟ้า เป็นต้น

๔. วาตภัย ประสบภัยจากลมต่างๆ มีลมใต้ฝุ่น เป็นต้น

๕. อุทกภัย ประสบภัยจากน้ำต่างๆ มีน้ำคลอง น้ำทะเล เป็นต้น

๖. วิวาทภัย ประสบภัยจากการทะเลาะวิวาท

๗. โรคภัย ประสบภัยจากโรคาพาธต่างๆ มีโรคมะเร็ง เป็นต้น

๘. อุปัตติภัย (อุบัติเหตุ) ประสบภัยจากสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า

๙. ทุพภิกขภัย ประสบภัยจากข้าวยากหมากแพง

๑๐. วินาศภัย ประสบภัยจากความพินาศอย่างใหญ่หลวง

 

= ๓. อัพยากตวิบากหรือผลกรรมไม่ดีและไม่ชั่ว ๒ ลักษณะ =

 ๑. อัพยากตวิบากหรือผลกรรมไม่ดีและไม่ชั่วที่ลึกลับ ๔ อย่าง

๑. จิตวิญญาณเป็นพระโสดาบัน ๓ จำพวก

๒. จิตวิญญาณเป็นพระสกทาคามี ๕ จำพวก

๓. จิตวิญญาณเป็นพระอนาคามี ๕ จำพวก

๔. จิตวิญญาณเป็นพระอรหันต์ ๔ จำพวก

 

๒. อัพยากตวิบากหรือผลกรรมไม่ดีและไม่ชั่วที่ที่เปิดเผย ๓ อย่าง

๑. โลกัตถจริยา ประพฤติเป็นประโยชน์แก่ชาวโลก คือ สั่งสอนให้คนในโลกมีความเห็นชอบในทุกๆ อย่าง (เป็นสัมมาทิฏฐิบุคคล)

๒. ญาตัตตถจริยา ประพฤติเป็นประโยชน์แก่ญาติ คือ สั่งสอนให้คนชาวพุทธดำรงชีวิตตามหลักแห่งกุศลธรรม ซึ่งเป็นความดีของมนุษย์ ๑๐ อย่าง มีเจตนางดเว้นจากการทำปาณาติบาตทุกชนิด เป็นต้น

๓. พุทธัตถจริยา ประพฤติเป็นประโยชน์แก่คนผู้ใคร่จะเป็นพุทธ คือ เป็นอนุพุทธ เช่น พระปัญจวัคคีย์ เป็นต้น

 

= ๔.อนันตริยกรรม =

แปลว่า กรรมชั่วร้ายที่สุด ซึ่งพัฒนามาจากอกุศลกรรม คือ คนผู้ทำชั่วที่เป็นกุศลกรรมธรรมดานั้น ถ้าทำมาก ทำบ่อย และทำมานาน มีเจตนาร้ายด้วยแล้ว จิตวิญญาณย่อมโหดเหี้ยม สามารถทำอนันตริยกรรมอันเป็นกรรมชั่วร้ายที่สุดโดยไม่สะทกสะท้านแต่อย่างใด มีอยู่ ๕ อย่าง คือ

๑. มาตุฆาต ฆ่าแม่

๒. ปิตุฆาต ฆ่าพ่อ

๓. อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์

๔. โลหิตุปบาท ทำอวัยวะของพระอรหันต์ให้ห้อเลือด

๕. สังฆเภท ทำสงฆ์ (หมู่คนดีในสังคม) ให้แตกแยก

(ธรรม ๕ อย่างนี้ เป็นคุณธรรมจริยธรรมของคนผู้เป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นเดียรัจฉาน เป็นอสุรกาย เป็นอมนุษย์ และเป็นคนมาร)

 

= ๕. อนันตริยกรรมวิบากหรือผลอนันตริยกรรมอันชั่วร้ายที่สุด ๒ ลักษณะ =

๑. อนันตริยกรรมวิบากที่ลึกลับ ๖ อย่าง

๑. จิตวิญญาณเป็นสัตว์นรก “ร้าย” ในนรก ๔๕๗ ขุม

๒. จิตวิญญาณเป็นเปรต “ร้าย” มีเปรตอยู่มากมายหลายจำพวก

๓. จิตวิญญาณเป็นเดียรัจฉาน “ร้าย” ในเดียรัจฉาน ๔ จำพวก

๔. จิตวิญญาณเป็นอสุรกาย “ร้าย” มีอสุรกายอยู่จำพวกเดียว

๕. จิตวิญญาณเป็นอมนุษย์ “ร้าย” ในอมนุษย์ ๑๒ จำพวก

๖. จิตวิญญาณเป็นมาร “ร้าย” ในมาร ๕ จำพวก

 

๒. อนันตริยกรรมวิบากที่เปิดเผย

๑. บันดาลให้ทำร้ายตัวเอง ด้วยวิธีการต่างๆ มีดื่มยาพิษ เป็นต้น

๒. บันดาลให้ผู้อื่นทำร้าย ด้วยอาวุธต่างๆ มีอาวุธปืน เป็นต้น

๓. บันดาลให้ตนได้ทำร้ายผู้อื่น ด้วยอาวุธต่างๆ มีอาวุธปืน เป็นต้น

๔. บันดาลให้ประสบกับอุปัตติภัยหรืออุบัติเหตุต่างๆ มีอุปัตติภัยในท้องถนนบ้าง ในน้ำบ้าง ในอากาศบ้าง เป็นต้น

๕. บันดาลให้นอนหลับไหลแล้วเสียชีวิตบ้าง หัวใจวายกระทันหันแล้วเสียชีวิตบ้าง

หรือเกิดอาการเป็นลมหน้ามืดจนเสียชีวิตบ้าง ถูกสัตว์ร้ายกัดแล้วเสียชีวิตไป เป็นต้น

 

ธัมมิกะ

watnongriewnang@gmail.com

๒๘  มีนาคม  ๒๕๕๖