1. ราชภัย | 2. โจรภัย | 3. วาตภัย | 4. อัคคีภัย | 5. อุทกภัย |
6. วิวาทะภัย | 7. โรคภัย | 8. อุบัติภัย | 9. ทุพภิกขภัย | 10.วินาศภัย |
๑. ราชภัย คือ ภัยจากทางราชการ เช่น ถูกจับกุมไปดำเนินคดีในโรงศาล ถูกตัดสินจำคุกบ้าง ปรับให้เสียเงินบ้าง สั่งประหารชีวิตบ้าง ลดตำแหน่งบ้าง ให้ออกจากงานราชการบ้าง เป็นต้น
๒. โจรภัย คือภัยจากโจรผู้ร้าย ในลักษณะโจรกรรมทรัพย์ ๑๔ อนุโลมโจรกรรม ๓ ฉายาโจรกรรม ๒ เช่นการลักทรัพย์ ปล้น วิ่งราวทรัพย์ หลอก เป็นต้น
๓. อัคคีภัย คือภัยที่เกิดแต่ไฟนั้น บ้างก็เป็นภัยภายนอก บ้างก็เป็นไฟภายใน ไฟภายนอก เช่น บ้างก็ไฟป่า บ้างก็ไฟฟ้า บ้างก็ไฟเตา บ้างก็ไฟธูปเทียน หรือบ้างก็ไฟที่โจรนำมาเผาบ้าน เป็นต้น ส่วนไฟภายในนั้น คือ บ้างก็เป็นไฟราคะหรือโลภะ บ้างก็เป็นไฟโทสะหรือโกธะ บ้างก็เป็นไฟโมหะ
๔. วาตภัย คือภัยที่เกิดแต่ลม บ้างก็เป็นลมภายนอก บ้างก็เป็นลมภายใน
ลมภายนอกเช่น บ้างก็เป็นลมใต้ฝุ่น บ้างก็เป็นลมที่มากับฝนอย่างรุนแรง เป็นต้น
ส่วนลมภายในนั้น เช่น ลมปากของคนอื่นที่ใช้วาทศิลป์กล่อมให้เราเชื่อจนเสียทรัพย์ไป เป็นต้น
๕. อุทกภัย คือภัยที่เกิดแต่น้ำ บ้างก็เป็นน้ำภายนอก บ้างก็เป็นน้ำภายใน
น้ำภายนอก เช่น บ้างก็เป็นน้ำป่าไหลหลากมา บ้างก็เป็นน้ำฝนที่ตกลงมาอย่างแรง บ้างก็เป็นน้ำหนอง บ้างก็เป็นคลอง เป็นต้น
น้ำภายใน เช่น บ้างก็เป็นกาโมฆะ (น้ำคือความอยากในกามคุณ) บ้างก็เป็นภโวฆะ (น้ำคือความอยากมีอยากเป็นต่างๆ) บ้างก็เป็นทิฏโฐฆะ ( น้ำคือความรู้ที่ไม่ใช่ความรู้) ถ้าน้ำเหล่านี้เกิดท่วมจิตใจที่เป็นกุศลจิตแล้ว ก็ย่อมรับโทษเป็นช่วง ๆ ไป
๖. วิวาทภัย คือ ภัยที่เกิดจากการทะเลาะวิวาท
การทะเลาะวิวาท เกิดจากต่างคนต่างก็มีอารมณ์เสียด้วยกัน ความเห็นขัดแย้งกัน ผลประโยชน์ขัดกัน เป็นต้น ก็เกิดการทะเลาะวิวาทกันขึ้น บ้างก็เป็นการทะเลาะวิวาทนิดหน่อย บ้างก็ทะเลาะวิวาทพอประมาณ บ้างก็ทะเลาะวิวาทอย่างรุนแรง และอาจจะยืดเยื้อไปถึงขั้นแตกหัก ฆ่ารันฟันแทงถึงตายได้ เป็นต้น
๗. โรคภัย คือภัยที่เกิดจากโรคต่างๆ
โรค คือ สิ่งเสียดแทงทางกาย ให้เร่าร้อน มีอยู่ ๓ กลุ่ม
๑. การไม่มีโรคทางกาย เป็นลาภปรกติธรรมดา
๒. การไม่มีโรคทางจิตใจ เป็นลาภดีกว่าไม่มีโรคทางกาย
๓. การไม่มีโรคมิจฉาทิฏฐิเจตสิก เป็นลาภอย่างยิ่ง ประเสริฐที่สุด
แต่ถ้าเกิดมีโรคทางกายด้วย โรคทางจิตด้วบ โรคทางมิจฉาทิฏฐิเจตสิกด้วยก็หมายถึงประสบ โรคภัยอย่างร้ายแรง
๘. อุปัตติภัย คือ ภัยที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าปัจจุบันทันด่วน เช่น อุปัตติภัยในท้องถนนมีรถชน เป็นต้น อุปัตติภัยในอากาศ มีเรือบินระเบิด เป็นต้น อุปัตติภัยในน้ำเช่นเรือล่มจมน้ำ เป็นต้น ถูกไฟคลอกในอาคารที่ถูกไฟไหม้ เป็นต้น ถูกฆาตกรรมด้วยอาวุธต่างๆ เสียชีวิตทันที ทำอัตวินิบาตกรรมด้วยตนของตนเอง ในรูปแบบ นอนหลับใหลเสียชีวิต เป็นต้น เหล่านี้เรียกว่าอุปัตติภัย ภาษาพระเรียกว่า ถูกแผ่นดินสูบ เนื่องจากทำอกุศลกรรมอันหนักเป็นครุกรรมมา คือ อนันตริยกรรม ๕ อย่าง มีฆ่าแม่ ฆ่าพ่อ เป็นต้น
๙. ทุพภิกขภัย คือภัยที่เกิดจากข้าวยากหมากแพง หมายถึง สิ่งของที่เราบริโภคประจำวันนั้นมีราคาแพงมาก รายได้น้อยแต่รายจ่ายสูง โจรผู้ร้ายชุกชุม เป็นต้น
๑๐. วินาศภัย คือ ภัยอันทำให้พินาศฉิบหายอย่างใหญ่หลวง เสียหายมาก เช่น พินาศเพราะฝนแล้งบ้าง เพราะน้ำท่วมบ้าง เพราะไฟไหม้บ้าง เพราะสิ่งเสพติดให้โทษแพร่ระบาดในสังคมของตนบ้าง ภัยสงครามบ้าง ภัยจากโรคระบาดแพร่เชื้อเข้าไปในชุมชนหลายพื้นที่ เป็นต้น